วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Learning Log 3

Learning Log 3

-Thursday 22nd August 2019-

วันนี้อาจารย์ได้สอนในบทที่ 2
หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
โดยมีเนื้อหา ดังนี้ 
🔅 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา🔅
Educational Networking   การสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
Understanding  การสร้างความเข้าใจ
Behavior change  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
Parental Involvement  การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
Role of parent  บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
Parent education model  รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครอง
Formal education   การให้ความรู้แบบเป็นทางการ
Informal education   การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ

 ✨ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง เด็กปฐมวัยถือเป็นนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน การให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะช่วยทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาเด็ก ทำให้ดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 ✨ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
🔎 Linda  Bierstecker, 1992  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง (parenteducation) หมายถึง การให้ผู้ปกครองได้เข้าใจว่าเด็กได้ทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีการที่จะช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
🔎 ฉันทนา  ภาคบงกช (2531)  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นการทำความเข้าใจและสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดู ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในการร่วมมือกันพัฒนาเด็กโดยใช้สื่อต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเด็กสำคัญ ดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติและความต้องการของเด็ก โดยอาศัยพื้นฐานความรู้ และทฤษฏีเกี่ยวกับจิตวิทยาของเด็ก
2. เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ แก่เด็กได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับทางโรงเรียน
🔎 วาโร  เพ็งสวัสดิ์ (2544) ได้ให้ความหมายของการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองว่า หมายถึง การให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นการสร้างความเข้าใจ สร้างทัศนคติที่ถูกต้อง ตลอดจนมีบทบาทหน้าที่ในการใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
🔎 ธีรภัทร์ เจริญดี (2542) ได้ให้ความหมายของการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองว่า หมายถึง การจัดการศึกษาที่จะช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเด็ก วิธีการอบรมเลี้ยงดู แนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก ตลอดจนการดำเนินชีวิตครอบครัว ในวิถีทางที่ถูกต้องและเหมาะสม 
🔎 กุลยา  ตันติผลาชีวะ (2544) กล่าวว่า การศึกษาสำหรับผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเลี้ยงดูเด็กให้ถูกต้องและมีพัฒนาการที่ดี วิธีการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองนี้มีหลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม การจัดการศึกษาอาจกำหนดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายการศึกษาสำหรับผู้ปกครองเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบที่จะสร้างให้ผู้ปกครองมีความรู้ของการเป็นผู้ปกครองและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับโรงเรียนในการที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปอย่างเต็มศักยภาพ
🔎 สรุปได้ว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต

 ✨ ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
🔎 Verna, 1972  กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งกันและกัน อันจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่อกัน ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กเกิดความสับสน
🔎 Galen,  1991  กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูลที่ดีในการเลี้ยงดู และการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการศึกษาของผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จได้
อรุณี  หรดาล (2536)  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความสำคัญดังนี้
1. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก
2. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอบรมเลี้ยงดู
3. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงผลของการกระทำของตนเองที่จะมีต่อเด็กอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง
4. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
5. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้และฝึกทักษะ เทคนิคและวิธีการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
6. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและผู้ปกครอง ซึ่งจะมีผลดีต่อตัวเด็กโดยตรง
🔎 การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

 ✨ วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
🔎  Linda  Bierstecker, 1992  ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองไว้ ดังนี้
1. เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีดูแลเด็กและการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
2. เพื่อให้ผู้ปกครองและครูประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กร่วมกัน
3. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความต้องการของเด็กและสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านได้อย่างถูก
🔎  กุลยา ตันติผลาชีวะ (2542) ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองว่า มีดังต่อไปนี้
1. สร้างเสริมความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก
2. สร้างเสริมความเข้าใจในบทบาทของผู้ปกครอง และอิทธิพลของครอบครัวที่มีต่อเด็ก
3. สร้างเจตคติที่ถูกต้องในการเลี้ยงดูเด็ก
4. สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองในการดูแลเด็ก
5. สร้างความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก
🔎 การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

 รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
🔎 พัชรี  สวนแก้ว (2536) ได้อธิบายรูปแบบการติดต่อระหว่างผู้ปกครองกับครูทำสองทาง คือ จากบ้านถึงโรงเรียนและจากโรงเรียนถึงบ้าน ซึ่งวิธีการที่ครูและผู้ปกครองจะติดต่อกันอาจทำได้ ดังนี้
1. การเยี่ยมเยียนโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งตอนเช้าเวลาที่ผู้ปกครองมาส่งเด็กและพบครูโดยบังเอิญอาจทำให้ครูทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กด้วย
2. การที่ครูไปเยี่ยมบ้านเด็กและผู้ปกครอง เพื่อเปิดโอกาสให้ครูทราบสภาพครอบครัว สร้างความคุ้นเคยกับผู้ปกครองและเด็ก
3. การที่ผู้ปกครองมาเยี่ยมโรงเรียน ซึ่งควรทำตอนที่นำเด็กมาฝากใหม่ ๆ เพราะเด็กยังไม่คุ้นเคยกับโรงเรียน
4. การจัดให้มีการอภิปรายกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
5. การเชิญผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน
6. การสนทนาทางโทรศัพท์ เพราะการปรึกษาทางโทรศัพท์สามารถชดเชยการเยี่ยมเยียนได้
🔎 การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความสำคัญที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
- การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
- การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
🔎 กุลยา  ตันติผลาชีวะ (2542)  ได้แบ่งรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองแบบผสมผสานเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมไทยเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. ระดับห้องเรียน
2. ระดับโรงเรียน
3. ระดับชุมชน
4. ระดับมวลชน
🔎 อรุณี  หรดาล (2536)  ได้เสนอรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่เหมาะสมกับสังคมไทย ควรมีลักษณะผสมผสานระหว่างรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาความรู้ และขนาดของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีอยู่ 5 ลักษณะ ดังนี้
1.  เป็นรายบุคคล  การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเป็นรายบุคคล ส่วนมากจะจัดแบบไม่เป็นทางการ เช่น การเยี่ยมบ้าน การสนทนาซักถาม ฯลฯ
2. กลุ่มขนาดเล็ก รูปแบบการให้ความรู้ในกลุ่มเล็ก ส่วนมากจะจัดแบบไม่เป็นทางการ เช่น การพบปะสนทนา การประชุมกลุ่มย่อย การประชุมโต๊ะกลม การระดมสมอง ฯลฯ 
3. กลุ่มขนาดใหญ่ อาจจัดได้หลายรูปแบบทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การบรรยาย การอภิปราย การประชุมเชิงปฏิบัติการ
4. ระดับชุมชน เช่น การบรรยาย การปาฐกถาหมู่ การโต้วาที การอภิปรายกลุ่ม การสนทนา ฯลฯ
5. ระดับมวลชน เช่น วิทยุ เทปเสียง วีดีทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์
🔎 จากรูปแบบดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปออกเป็นลักษณะของฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)
2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง
3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง นับเป็นแนวทางให้ความรู้ที่เหมาะสมกับผู้ปกครองในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น
🔎 สรุปได้ว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมี 2 ส่วนหลัก ๆ คือ การมีส่วนร่วมที่บ้านในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กทุก ๆ ด้าน และการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา เช่น การเข้าร่วมประชุมร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการปรึกษา เยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการทำงาน เสนอแนวคิดและร่วมตัดสินใจทางการศึกษา

แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
🔎 ฉันทนา  ภาคบงกช (2531) ได้เสนอแนวทางในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
1. สำรวจความสนใจ ความต้องการ รวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม
2. จัดบริการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น   
   - เชิญวิทยากรมาบรรยาย  อภิปราย สาธิต
   - จัดห้องสมุดและศูนย์ของเล่นสำหรับเด็ก
   - จัดศูนย์แนะแนวผู้ปกครองเพื่อให้คำแนะนำ
   - จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ปกครอง
🔎 กุลยา  ตันติผลาชีวะ (2542) ได้กล่าวถึง แนวทางการจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมไว้ ดังนี้
1. กิจกรรมโรงเรียน ได้แก่ กิจกรรมที่เน้นให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม โดยทางโรงเรียนเป็นฐานในการจัดกิจกรรม เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแนะนำโรงเรียน กิจกรรมการฝึกอบรม กิจกรรมการแสดงของนักเรียน กิจกรรมอื่นๆ ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นในโอกาสพิเศษต่าง ๆ
2. กิจกรรมสานสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์และความคุ้นเคยกันในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสนทนา การเยี่ยมเยียน เช่น การประชุมปรึกษาเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน พร้อม ๆ กับการแลกเปลี่ยนความรู้กัน การแก้ปัญหาร่วมกัน 
การเยี่ยมบ้าน เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน การเยี่ยมบ้านจะไม่ทำบ่อยนัก อาจเป็นภาคเรียนละ 1 ครั้ง ตามความเหมาะสม
3. กิจกรรมการสื่อสารสนเทศ กิจกรรมนี้จะเน้นให้ผู้ปกครองเป็นผู้รับข้อมูลเป็นหลัก ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น โทรศัพท์สายด่วน จดหมายข่าว โฮมเพจ แผ่นพับของทางโรงเรียน
4. กิจกรรมการศึกษา เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียน การสอน เป็นกิจกรรมที่ผู้ปกครองเข้าถึงชั้นเรียน ทั้งเป็นผู้สอน เป็นผู้ช่วยครูตลอดถึงเป็นที่ปรึกษาสำหรับผู้ปกครองด้วยกัน
5. กิจกรรมบริการ เป็นกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นเพื่อเป็นการบริการแก่สังคมและครอบครัว ได้แก่ ห้องสมุดของเล่น ศูนย์ดูและเด็ก ศูนย์แลกเปลี่ยนสิ่งของที่ผู้ปกครองเหลือใช้
6. กิจกรรมการตัดสินใจ เป็นกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองระดับสูง ที่ผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมกับทางโรงเรียนในการตัดสินใจ และวินิจฉัยสั่งการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม คือ การวางนโยบายโรงเรียน การสรรหาบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตร เป็นต้น
 🔎 Linda  Bierstecker, 1992 ได้เสนอแนวทางในการเตรียมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
การวางแผน
- กำหนดวัตถุประสงค์
- จัดเตรียมการประชุม
- จัดทำกำหนดการประชุม
ดำเนินการประชุม
ประเมินผลการประชุม
- การบรรลุวัตถุประสงค์
- ความพร้อมของการประชุม
- หัวข้อการประชุม
- ขั้นตอนการประชุม
            ฯลฯ
การออกจดหมายข่าวผลประชุม
🔎 การมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
🔎 สรุปแนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
       หลักการและแนวทางในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมนั้น อยู่บนพื้นฐานความคิดของการสร้างความสัมพันธ์อันดี กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ขึ้นอยู่กับทางโรงเรียนจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ครอบครัว เจตคติและความเชื่อของผู้ปกครอง โดยอาจจัดหลายกิจกรรมประกอบกัน ทั้งนี้ทางโรงเรียนต้องชี้แจงให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมและจักกิจกรรมให้ตรงตามความต้องการของผู้ปกครอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านความสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมและยึดผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสำคัญ

✨ บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
🔎 วราภรณ์  รักวิจัย (2533) กล่าวว่า บทบาทของผู้ปกครองมี ดังนี้
1. ให้การอบรมเลี้ยงดูและปัจจัย 4
2. ให้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ฝึกอบรมเด็กให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
4. ถ่ายทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในครอบครัวให้แก่เด็ก
5. ช่วยแก้ปัญหาและอบรมสร้างวินัยอันดีให้แก่เด็ก
6. จัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทุก ๆ ด้าน
7. เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก
8. เสริมสร้างบุคลิกภาพและการสร้างสรรค์
9. ปลูกฝังคุณธรรมให้แก่เด็ก
🔎 อรุณี  หรดาล (2536)  ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้ปกครองไว้ ดังนี้
🔎 สรุปบทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
       ผู้ปกครองจะต้องรู้บทบาทและหน้าที่ของตน ทั้งในฐานะผู้อบรมเลี้ยงดูเด็ก ให้การศึกษา และส่งเสริมพัฒนาการโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมกับสถานศึกษาในลักษณะต่าง ๆ  ที่เหมาะสมกับบริบทของตน บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองจึงควรมีบทบาทในฐานะผู้ร่วมกิจกรรม    ในสถานศึกษา บทบาทในฐานะเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่เด็กทั้งที่บ้านและโรงเรียน และบทบาทในฐานะผู้ช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียน เพื่อการพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด

✨ แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
ในการจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง สถานศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปกครองได้ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ ดังนั้นสถานศึกษาควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง

        ผู้ปกครองถือเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียนรู้ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กปฐมวัย การที่ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตตั้งแต่เริ่มต้น การให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานทุกฝ่าย เพื่อดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้ผู้ปกครอง หน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการให้ความรู้  แก่ผู้ปกครองคือ สถานศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การจัดการศึกษาของสถานศึกษา บทบาทของผู้ปกครองกับการศึกษาของเด็กทั้งที่บ้านและสถานศึกษา โดยดำเนินการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยเลือกรูปแบบวิธีการ   ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครอง   รับประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ บ้านเป็นฐานการเรียนรู้ โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ และชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้

คำถามท้ายบท
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
➔  เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครอง มีความความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตตั้งแต่เริ่มต้น 

2.  ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง จงอธิบาย และยกตัวอย่างของกิจกรรม
➔ 
1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)
2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง
3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง นับเป็นแนวทางให้ความรู้ที่เหมาะสมกับผู้ปกครองในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น

3. นักศึกษามีแนวคิดอย่างในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
➔ การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)
ในความคิดเห็นของดิฉัน เป็นแนวคิดที่ดีเพราะเราสามารถส่งเสริมพัฒนาการได้ถูก และสามารถส่งเสริมสิ่งที่เด็กชอบทำ ให้เขาทำอย่างเต็มที่อยากมีความสุข (เป็นการเรียนรู้อยากเต็มที่) แต่ข้อเสียคืออาจจะไม่เหมาะกับครอบครัวที่ผู้ปกครองไม่มีเวลาต้องทำงาน 

4.  องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
➔ 
1. กิจกรรมโรงเรียน ได้แก่ กิจกรรมที่เน้นให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม โดยทางโรงเรียนเป็นฐานในการจัดกิจกรรม เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแนะนำโรงเรียน กิจกรรมการฝึกอบรม กิจกรรมการแสดงของนักเรียน กิจกรรมอื่นๆ ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นในโอกาสพิเศษต่าง ๆ
2. กิจกรรมสานสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์และความคุ้นเคยกันในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสนทนา การเยี่ยมเยียน เช่น การประชุมปรึกษาเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน พร้อม ๆ กับการแลกเปลี่ยนความรู้กัน การแก้ปัญหาร่วมกัน 
การเยี่ยมบ้าน เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน การเยี่ยมบ้านจะไม่ทำบ่อยนัก อาจเป็นภาคเรียนละ 1 ครั้ง ตามความเหมาะสม
3. กิจกรรมการสื่อสารสนเทศ กิจกรรมนี้จะเน้นให้ผู้ปกครองเป็นผู้รับข้อมูลเป็นหลัก ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น โทรศัพท์สายด่วน จดหมายข่าว โฮมเพจ แผ่นพับของทางโรงเรียน
4. กิจกรรมการศึกษา เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียน การสอน เป็นกิจกรรมที่ผู้ปกครองเข้าถึงชั้นเรียน ทั้งเป็นผู้สอน เป็นผู้ช่วยครูตลอดถึงเป็นที่ปรึกษาสำหรับผู้ปกครองด้วยกัน
5. กิจกรรมบริการ เป็นกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นเพื่อเป็นการบริการแก่สังคมและครอบครัว ได้แก่ ห้องสมุดของเล่น ศูนย์ดูและเด็ก ศูนย์แลกเปลี่ยนสิ่งของที่ผู้ปกครองเหลือใช้
6. กิจกรรมการตัดสินใจ เป็นกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองระดับสูง ที่ผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมกับทางโรงเรียนในการตัดสินใจ และวินิจฉัยสั่งการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม คือ การวางนโยบายโรงเรียน การสรรหาบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตร เป็นต้น

⏰ Assessment 

Self-Assessment : เข้าเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึกเสมอ สนทนาตอบคำถามอาจารย์บ้าง
Member Assessment : เพื่อนในชั้นเรียนตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมพูดคุยสนทนาคำถามกับอาจารย์
Teacher Assessment : เนื่องจากเนื้อหาเยอะ อาจารย์จึงสอน อธิบาย และสรุปได้ชัดเจน ทำให้เข้าใจง่ายกว่ามานั่งเรียนเนื้อหา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น